วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

 (https://www.gotoknow.org/posts/547100)ได้รวบรวมการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ว่า
          การเรียนรวมหรือการเรียนร่วม เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษ ซึ่งหมายถึง เด็กที่มีปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้มีโอกาสเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปตามความสามารถและความต้องการพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อส่งเสริมให้ได้เรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีความเท่าเทียมกันตามสิทธิมนุษยชน    สำหรับรูปแบบของการจัดการเรียนแบบเรียนร่วมนั้นมีหลากหลายรูปแบบตัวอย่างเช่น
- การเรียนร่วมอย่างสมบูรณ์ โดยเด็กพิเศษจะได้เข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติ
- การเรียนร่วมบางเวลา เด็กพิเศษจะเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติในบางรายวิชาและได้รับบริการพิเศษจาก     ครูหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา
- การเรียนร่วมทางสังคม เป็นการให้เด็กพิเศษเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆกับเด็กปกติ เช่น กิจกรรม  
  นันทนาการ งานสังสรรค์ของโรงเรียน งานแนะแนวการศึกษา แต่จะเรียนในชั้นพิเศษเฉพาะ 
  หรืออาจจะมีการร่วมเรียนร่วมรู้โดยการจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มขึ้นมาตัวอย่างเช่น เพื่อนสอนเพื่อน ส่วน         ใหญ่จะเป็นการทบทวนในเนื้อหาที่เรียนไปแล้วซึ่งเด็กบางคนอาจเรียน ไม่ทันหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ครู     สอนก็จะได้เพื่อนช่วยชี้แนะอีกทางหนึ่ง
การต่อชิ้นส่วน เป็นการมอบหมายให้ผู้เรียนมีบทบาทเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อทำงานที่ได้รับมอบ   หมายเสร็จก็นำงานแต่ละส่วนมารวมกันเป็นงานชิ้นใหญ่ที่เป็นระเบียบและมีความ สมบูรณ์ครบถ้วน
ผลสัมฤทธิ์ของทีมงาน โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มประมาณ 4 คน  ให้ผู้เรียนทุกคนร่วมกันอ่านเนื้อหา   วิชาในส่วนที่ได้รับมอบหมาย ถ้าเพื่อนในกลุ่มคนใดไม่เข้าใจ เพื่อนที่เหลือในกลุ่มต้องช่วยกันอธิบาย     จนกว่าจะเข้าใจในเนื้อหาได้ครบทุกคน เมื่อเข้าใจหมดทุกคนแล้วจะมีการสอบเป็นรายบุคคล คะแนน     ของทุกคนจะถูกนำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนกลุ่ม หากกลุ่มใดคะแนนต่ำสมาชิกในกลุ่มต้องกลับไปเรียนร       ใหม่จนกว่าจะสอบได้คะแนนตามเกณฑ์
การเรียนร่วมทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีสำหรับการเรียนรวมคือ
1.ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
2.เพิ่มการยอมรับนับถือในตนเองว่าตนเองมีคุณค่า ความสามารถ
3.เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา
4. เป็นการพัฒนาทักษะทางสังคม
5.ส่งเสริมทักษะในการผูกมิตรและการยอมรับจากเพื่อน
6.ลดการแข่งขันและการเอาเปรียบผู้อื่น
ส่วนข้อเสียสำหรับการเรียนร่วมคือ
1.อาจเสียความเป็นระเบียบในชั้นเรียน
2.เด็กเรียนเก่งอาจจะรู้สึกว่าเสียเวลา แต่ครูควรชี้แจงให้เด็กเก่งเข้าใจและรู้จักการทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม

(http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10)ได้รวบรวมการเรียนรู้แบบเรียนรวมไว้ว่า
          การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม - Presentation Transcript
          การเรียนร่วมหมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
          การจัดการเรียนร่วมเป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ    โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป    โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน(Collaboration)  และการจัดการเรียนร่วม อาจกระทำได้หลายลักษณะวิธีการจัดการเรียนร่วม  ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6  รูปแบบ  ดังนี้             
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน  รูปแบบการจัดเรียนร่วม 
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ
 (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177 ด้รวบรวมการเรียนรู้แบบเรียนไว้ว่า
          การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ
รูปแบบการเรียนรวม
          ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กปกติต้องอาศัยรูปแบบการเรียนรวมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในชั้นเรียนรวม ซึ่งรูปแบบการเรียนรวมมีหลายรูปแบบ โดยที่ ด๊าค (Daeck, 2007) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรวมเต็มเวลาไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากครูที่สอนชั้นเรียนรวมสอนเด็กแล้ว แต่ทักษะยังไม่เกิดกับเด็กคนนั้นครูการศึกษาพิเศษต้องสอนทักษะเดิมซ้ำอีก จนกระทั่งเด็กเกิดทักษะนั้น สำหรับรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะรับผิดชอบเด็กจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวนจำกัด ครูปกติและครูการศึกษาพิเศษต้องมีการพบปะเพื่อประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับทักษะของเด็ก และมีการวางแผนร่วมกัน รูปแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนเด็กที่มีความต้องการพิเศษไม่มากนัก ซึ่งผู้เรียบเรียงได้ไปศึกษาดูงานที่ Westbrook Walnut Grove : High School ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ เช่น ในสาย ป.2 ( ครูที่สอนชั้นป.2 / 1 และ ป.2 / 2) ครูการศึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ครูปกติเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนรวม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับวิธีสอนการมอบหมายงานหรือการบ้าน การปรับวิธีสอบ การจัดการด้านพฤติกรรม มีการวางแผนร่วมกันสม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง ครูที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานวางแผนร่วมกันเป็นทีมในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ ร่วมมือกันรับผิดชอบในการวางแผน การสอน การวัดผลประเมินผล การดูแลเกี่ยวกับระเบียบวินัยและพฤติกรรมของเด็กผู้เรียนจะได้รับบริการด้านการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับวัย ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนที่จำเป็น ตลอดจนการปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในรูปแบบนี้ครูผู้รับผิดชอบจะต้องประชุมกันเพื่อวางแผน เพื่อให้การเรียนรวมดำเนินไปด้วยดี
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า
          การเรียนรู้แบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
รูปแบบการเรียนรวม
1. รูปแบบครูที่ปรึกษา (Consultant Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้สอนทักษะแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
2.รูปแบบการร่วมทีม ( Teaming Model) ในรูปแบบนี้ครูการศึกษาพิเศษจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการร่วมทีมกับครูที่สอนชั้นปกติ
3. รูปแบบการร่วมมือ หรือ การร่วมสอน (Collaborative / Co Teaching Model) ในรูปแบบนี้ทั้งครูการศึกษาพิเศษและครูปกติร่วมมือกันในหลายลักษณะในการสอนเด็กทุกคน ทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปกติในห้องเรียนปกติ


ที่มา
https://www.gotoknow.org/posts/547100.การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม.สืบค้นเมื่อ 5                      กันยายน 2558.
http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10.การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและ                           จัดการศึกษาแบบเรียนร่วม.สืบค้นเมื่อ 5  กันยายน 2558.
http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177.การศึกษาแบบเรียนรวม                .สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2558.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น