วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้ 

(http://www.scribd.com/doc/62888506/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9-Learning).ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ว่า
      .-การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
       -มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย
       -ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน   No  one  old  to  learn
       -การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น


(http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm).ได้รวบรวมความสำคัญของการเรียนรู้ว่า
         การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้ สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได ้เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้ว เป็นต้น


วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529 : 41) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดชีวิตของคนเรานั้น มีการเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา เวลาหิว เวลาหนาว เรียนรู้นิสัยต่างๆในการดำรงชีวิต ตลอดจนการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้

        จากที่กล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า   การเรียนรู้ มีความสำคัญต่อพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์ ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยที่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย เช่น การเรียนรู้การแก้ปัญหา เวลาหิว เวลาหนาว และการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้ เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ เพราะสิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได อีกทั้ง การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น อีกด้วย




ที่มา

http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm.องค์การแห่งการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 24                   มิถุนายน 2558.
(http://www.scribd.com/doc/62888506/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9-Learning).การเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2558.
วารินทร์ สายโอบเอื้อ.(2529). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : เทียนเจริญพาณิช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น