องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
เฉลิมลาภ ทองอาจ (https://www.gotoknow.org/posts/502729)ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
โดยทั่วไป มักจะมีการแบ่งองค์ประกอบการเรียนการสอนในลักษณะของโครงสร้าง (structure) และกระบวนการ (process) ในลักษณะโครงสร้าง คือ แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในขณะที่การแบ่งตามกระบวนการนั้น โดยทั่วไปมักใช้เป็นขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุป โดยหากจะขยายออกไปตามแนวคิดการปรากฏขึ้นของการสอนของ Gagne ก็จะทำให้สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนไปตามขั้นตอนต่างๆ 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ การแจ้งวัตถุประสงค์ การนำเสนอเนื้อหา การทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม การนำเสนอเนื้อหา การให้คำแนะนำโดยครู การให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การให้ผลป้อนกลับ การประเมินและการถ่ายโอนการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า แม้จะมีการแบ่งขั้นตอนของการเรียนการสอนออกเป็นโครงสร้างหรือลำดับต่างๆ แล้วก็ตาม แต่โดยสรุปแล้ว สภาพหรือปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนการสอนดังที่กล่าวมานั้น ย่อมมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่ การเกิดขึ้นของการนำเสนอสาระการเรียนรู้ การเกิดขึ้นของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ และการเกิดขึ้นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว อาจจะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำไปพิจารณาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน (instructional design) ได้
องค์ประกอบที่สำคัญประการต่อมา คือ การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ การเรียนรู้โดยอิสระนั้น มิใช่การปล่อยปละให้นักเรียนศึกษาเนื้อหาและทำแบบฝึกหัดไปตามลำพัง แต่เกิดจากการให้ผู้เรียนพิจารณาวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนในครั้งนั้น ว่าตนเองสามารถบรรลุหรือไปถึงวัตถุประสงค์นั้นแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เขาเป็นผู้เลือกและกำหนดแนวทางในการพัฒนาตนเอง เช่น หากนักเรียน ทราบว่า ตนเองยังไม่เข้าใจคำศัพท์บางคำในวรรณคดีที่อ่าน ก็จำเป็นที่เขาจะต้องดำเนินการสืบค้นความหมายของคำศัพท์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่คิดขึ้นด้วยตนเอง ซึ่งครูจะต้องเข้าไปมีบทบาทในการชี้แนะแนวทางการฝึกหัดปฏิบัติด้วยตนเองนั้นว่า สามารถจะดำเนินการในลักษณะใดบ้าง ทั้งนี้ การจะทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระมีประสิทธิภาพ ครูผู้สอนจะต้องคอยตรวจสอบการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นระยะๆ ในลักษณะของการช่วยเหลือและแก้ไข บนพื้นฐานของการให้เกียรติผู้เรียน และให้ผลป้อนกลับเพื่อแก้ไขให้ดำเนินการเรียนรู้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง เช่น ในขณะที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่านและสรุปสาระสำคัญของวรรณคดีบางเรื่อง ครูอาจจะต้องเรียกผลงานการสรุปนั้นมาให้คำแนะนำเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ณัฐฎา แสงคำ( http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1164)ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมใน การเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
3. ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
4.จุดประสงค์การเรียนการสอน
Ning_sced (http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html)ได้กล่าวองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
1.
ผู้สอน
เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้
และกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว
ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2.
ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด
ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด
ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย
ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3.
เนื้อหาวิชาต่างๆ
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4.
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้
ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ
เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง
จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ
มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี
และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
จากที่กล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ผู้สอน เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
2. ผู้เรียน เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย3. เนื้อหาวิชาต่างๆ ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ
6.จุดประสงค์การเรียนการสอน
6.จุดประสงค์การเรียนการสอน
7.ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่เกิดแก่ผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด
ที่มา
ที่มา
https://www.gotoknow.org/posts/50272.องค์ประกอบการเรียนการสอน.เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2559.
http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=1164.หลักการสอนที่ ดี.เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2558.
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2558.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น